โรคไฟโบรมัยอัลเจีย โรคปวดเมื่อยเรื้อรัง

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย
แชร์ให้เพื่อนอ่าน

ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyyalgia) โรคที่ปวดเมื่อยไม่รู้สาเหตุ นอนหลับไม่สนิท เครียด เหนื่อยง่าย โรคนี้เป็นโรคประหลาดที่เกิดกับผู้หญิงมากขึ้นอย่างน่าตกใจโดยเฉพาะเกิดกับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหนึ่งในประเทศนั้นก็คือประเทศไทยของเรา และผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็น หนึ่งในผู้มีชื่อเสียงระดับโลกที่ป่วยด้วยโรคนี้ก็คือเลดี้กาก้านักร้องสัญชาติอเมริกัน และดาราอีกคนในประเทศไทยคือคุณใหม่สุคนธวา

โรคนี้ยังถือเป็นโรคที่เพิ่งมีการบันทึกการเกิดขึ้นมาไม่นาน และไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร กลุ่มที่มักจะพบเป็นโรคนี้มากที่สุดคือกลุ่มผู้หญิงเอเชียที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป และการวินิจฉัยโรคอาจต้องใช้เวลาในการพิจารณามากกว่า 15 เดือนเลยทีเดียว เพราะอาการของโรคไฟโบรมัยอัลเจียมีการผสมผสานของหลายๆโรคเข้าด้วยกัน เมื่อเกิดอาการทั้งหลายครบแล้วเราจึงพอสันนิษฐานได้ว่าอาจจะเข้าข่ายเป็นโรคนี้

อุปสรรคอีกอย่างของการรักษาโรคนี้คือเราไม่สามารถแยกแยะได้ว่าหมอที่เชี่ยวชาญเรื่องใดจะเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษา อาการจะเกิดขึ้นทั้งทางสมอง สารสื่อประสาท และกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการเหล่านี้ใช้ต้องใช้หมอที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆกันไป

 

สารบัญ

 

ปวดหลัง

 

สาเหตุของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

แม้จะยังไม่สามารถทราบแน่ชัดว่าโรคนี้เกิดจากอะไรกันแน่ แต่เราพอสันนิษฐานจากเหตุผลได้เป็นข้อๆตามนี้

-คนที่เคยประสบอุบัติเหตุรุนแรง

-คนที่มีความเครียด มีความคาดหวังสูง

-คนที่มีภาวะอ่อนล้าสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ

-คนที่พ่อแม่มีประวัติเป็นโรคไฟโบรอัลมัยเจีย

 

อาการของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

โรคไฟโบรมัยอัลเจียดูเผินๆอาจจะเหมือนเป็นการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรังที่ไม่ส่งผลอันตรายในช่วงแรกๆ ผู้ป่วยจึงมักจะเข้าใจว่าเป็นอาการที่เกิดจากความเหนื่อยจากการทำงาน เพราะในช่วงนี้จะมีอาการเหนื่อยล้าร่วมด้วย แต่พอปล่อยไปซักระยะจะเริ่มมีความปวดเพิ่มขึ้นจากจุดหนึ่งเป็นหลายจุดกะจายไปทั่วทั้งตัว บางรายมีอาการปวดหัวคล้ายไมเกรน

คนที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียมักจะได้รับผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากเพราะความเจ็บปวดจะทำให้นอนหลับไม่สนิท ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ตามมาด้วยความเครียดสะสมจนอาจเกิดอารมณ์ที่แปรปรวนมากกว่าปกติ หลายรายพบโรคซึมเศร้าร่วมด้วย

โดยโรคไฟโบรมัยอัลเจียยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาการจะหนักเบาเป็นช่วงเวลาแต่ไม่หายขาด เราจะพิจารณาโรคจากความเจ็บป่วยที่เรื้อรังมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป เช่น การปวดเมื่อยร่างกาย หรือการปวดหัวเหมือนไมเกรน บางคนอาจเกิดอาการร่วมกันทั้งสองอาการ

 

เหนื่อยล้า

 

การรักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

มีการสันนิษฐานสาเหตุของโรคนี้ว่าเกิดขึ้นเพราะสมองส่วนสั่งการความเจ็บปวดทำงานไวกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความอ่อนไหวต่อการเจ็บปวดที่กล้ามเนื้อมากกว่าคนทั่วไป และโรคนี้จะเป็นเรื้อรังด้วยอาการคงที่เป็นเวลาหลายเดือน การรักษาจึงใช้เวลานานเพราะต้องใช้เวลาในการวินิจฉัย และการทดลองรักษาหลายวิธีเพื่อบรรเทาอาการในช่วงแรก

การรักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจียที่ตรงประเด็นที่สุดคือการให้ยาเฉพาะโรคเพื่อประคับประคองอาการที่เกิดขึ้น เช่น ยาแก้ปวด หรือยาแก้เครียด จุดมุ่งหมายการรักษาเพื่อจะทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีที่สุดโดยไม่ได้รับผลกระทบจากโรคนี้

นอกจากการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันแล้วยังอาจจะใช้แพทย์แผนโบราณหรือแพทย์ทางเลือกร่วมได้เช่น การนวด หรือการกดจุดฝังเข็ม

 

ยาพารา

 

ผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดจากโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

-การงาน ความเจ็บป่วยย่อมทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานลดลงอยู่แล้ว ยิ่งถ้าอาการของไฟโบรมัยอัลเจียกำเริบบางครั้งอาจจะหนักถึงขนาดที่ทำงานไม่ได้เป็นระยะเวลาหลายๆวันเลยทีเดียว สำหรับคนที่ทำงานประจำก็อาจจะมีปัญหาจากการลางานบ่อยๆได้เช่นกัน

-ความสัมพันธ์ครอบครัว ความเจ็บป่วยทำให้เกิดความเครียดในระดับสูงแทบจะตลอดเวลา อารมณ์ของผู้ป่วยจะแปรปรวนมากทำให้มีโอกาสจะกระทบกระทั่งกับคนในครอบครัวได้ง่ายๆ ทำให้ต้องทำความเข้าใจกับคนในครอบครัวบ่อยๆไม่ให้ได้รับผลกระทบจนเกิดปัญหาความสัมพันธ์

-การเงิน นอกจากปัญหาเรื่องงานแล้ว การเงินเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถูกกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการรักษาต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในบางครั้งอาจจะต้องหาต่อเนื่องมากกว่า 3 ปีเลยทีเดียว และค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนอาจจะสูงถึง 5,000-10,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายระดับนี้อยู่ในระดับที่มีปัญหาต่อค่าครองชีพของคนไทยมากกว่าครึ่งประเทศ

 

ทะเลาะ

 

การป้องกันและการรักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

แม้โรคไฟโบรมัยอัลเจียจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถจะบรรเทาอาการได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ดีขึ้น ทำให้เราเจ็บป่วยน้อยลงจนสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วๆไป

1.พักผ่อนให้เพียงพอ บริหารความเครียด

2.ทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ครบ 5 หมู่

3.การฝึกสมาธิ ช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย ลดความเครียดได้

4.การออกกำลังกาย แบบคาร์ดิโอ เข่น การวิ่ง หรือการเต้นแอโรบิค

 

อาหาร5หมู่

 

ทางเลือกการออกกำลังกาย

เมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบเพิ่มเติมว่าการออกกำลังกายที่สามารถบริหารร่างกาย และจิตใจพร้อมๆกัน เข่น โยคะ และพิลาทิสมีผลดีต่อการรักษาผู้ป่วยที่ประสบปัญหาจากโรคไฟโบรมัยอัลเจียได้อย่างดี เพราะการออกกำลังกายแนวนี้จะได้กล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้น ยืดหยุ่นมากขึ้น ปวดเมื่อยน้อยลง และความเครียดก็ยังลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญด้วย อ่านต่อ พิลาทิสคืออะไร?

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึก